ย้อนรอย 100 ปี ‘มหาอุทกภัยกรุงปารีส’ เทียบภาพน้ำท่วมครั้งใหญ่ปี 1910 กับ 2016

มิถุนายนปีนี้ เป็นเดือนแห่งอุทกภัยที่หลายประเทศทั่วโลก เริ่มได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมฉับพลันเนื่องจากฝนตกหนัก ทั้งอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม โรมาเนีย รัสเซีย ยูเครน จีน อินโดนีเซีย และล่าสุดประเทศไทย บางแห่งแค่น้ำท่วมขัง ในขณะที่บางแห่งถนนขาด ดินถล่มจนมีผู้เสียชีวิตนับสิบสังเวยการมาถึงของฤดูมรสุม

มหานครที่ได้รับผลกระทบอย่างน่าตกใจในแบบที่หลายคนไม่เคยเห็นมาก่อน คือกรุงปารีส จุดหมายปลายทางที่นักเดินทางมากมายวางแผนจะไปใช้เวลาท่องเที่ยวช่วงซัมเมอร์ แต่ต้องพบกับแม่น้ำแซนที่เพิ่มระดับขึ้นสูงที่สุดในรอบ 30 ปี จนเอ่อล้นท่วมพื้นที่ใกล้เคียงหลายแห่ง เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมใหญ่ขนาดที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (Louvre) ต้องปิดทำการเพื่อเตรียมขนย้ายงานศิลปะและโบราณวัตถุระดับสมบัติของชาติ หนีออกจากพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำแซน เมืองรอบข้างหลายแห่งที่ได้รับผลกระทบรุนแรงกว่าไม่มีไฟฟ้าใช้กว่า 19,000 ครัวเรือน ประชาชนกว่า 20,000 คนทั่วฝรั่งเศสต้องอพยพออกจากบ้าน

paris
© Jeremy Lempin/EPA

paris
© Pascal Rossignol/Reuters

paris© Pascal Rossignol/Reuters

แม้ภาพน้ำท่วมกรุงปารีสในปีนี้จะรุนแรง แต่เมื่อ 100 ปีก่อน มหานครแห่งนี้เคยจมอยู่ใต้บาดาลนานกว่า 2 เดือนด้วยระดับน้ำที่สูงกว่านี้มาก เหตุการณ์ครั้งนั้นถูกเรียกขานว่า ‘1910 Great Flood of Paris’ ระดับแม่น้ำสูงสุดของปี 2016 วัดได้ที่ 6.1 เมตรในขณะที่ระดับแม่น้ำสูงสุดเมื่อปี 1910 นั้นสูงถึง 8.6 เมตร เพื่อเปรียบเทียบให้ภาพ Julien Knez ศิลปินชาวฝรั่งเศสจึงนำภาพอุทกภัยสองยุค ซึ่งระยะเวลาห่างกันถึง 106 ปีมาเผยแพร่เพื่อเปรียบเทียบมุมต่างๆ ของกรุงปารีสให้คนรุ่นหลังได้ชมกัน

191020165

191020164

191020162

191020161

19102016

สะพาน Pont Alexandre III

D2

D1

B2

B1

สะพาน Pont Saint-Michel

E2

E1

F2

F1

สะพาน Pont de Sully

C1

C2

สะพาน Pont d’Arcole

A2

A1

แม้เหตุการณ์น้ำท่วมกรุงปารีสปี 2016 ดูเหมือนจะให้เหล่านักท่องเที่ยวต้องเสียแผน แต่สำหรับบางคนอุทกภัยครั้งนี้กลายเป็นประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิต ที่ได้สัมผัสแม่น้ำแซนในแบบที่ไม่ค่อยจะมีใครเคยได้เห็น และถึงพิพิธภัณฑ์ลูฟร์จะปิด แต่ก็โชคดีที่มีงานภายนอกของ JR ศิลปินสตรีทอาร์ตชื่อดังของฝรั่งเศส ที่ทำให้พีระมิดแก้วหน้าลูฟร์หายวับไปด้วยงานศิลปะลวงตาให้ได้ชมกันช่วงนั้นพอดี

 

Magazine made for you.